Happy Box Game
Wilawun Chaima
English Classroom
วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2568
วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566
รูปแบบการสอน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active leaning) 4P1E
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น
เขต 5
1. ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารภาษาอังกฤษ
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง Knowing Your Feel โดยใช้รูปแบบการสอน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active leaning) 4P1E
2.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันนี้ เรื่องของ Active Learning นับเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในการศึกษาช่วงศตวรรษที่
21 นี้
ด้วยเพราะเป็นแนวจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และตอบสนองต่อการพัฒนาของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
โดยความหมายของ Active Learning (การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ)
นั้น
หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเรียนรู้อย่างมีความหมาย
โดยผ่านการกระทำและร่วมมือกันระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากสมมติฐาน 2 ประการ อันได้แก่ 1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (ทรูปลูกปัญญาม, 2562)Active Learning จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา
(Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง
ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้
ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น
โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์
และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้
ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558)
วิธีการสอนแบบ 3Ps หมายถึง
เทคนิควิธีสอนภาษาอังกฤษแบบหนึ่งของลิตเติลวูด(Littlewood) ซึ่งประกอบด้วย
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นนำเสนอ P1 (Presentation) เป็นการนำเสนอบทเรียนเป็นคำศัพท์หรือ/และรูปประโยคให้ชัดเจนด้วยการฟัง
พูด 2) ขั้นฝึก P2 (Practice) เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกภาษาด้วยวิธีการต่างๆ
เน้นการสื่อสารการฟังและการพูด ที่นำเสนอในขั้น P1 ให้คล่องแคล่วก่อนแล้วจึงฝึกอ่าน
3) ขั้นนำไปใช้ (Production) ให้นักเรียนอ่าน -
เขียนทำแบบฝึกหัด หรือนำภาษาไปใช้ และบูรณาการทักษะในการนำภาษาไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ
จากการศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในรายวิชาภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านผาขาม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต
5 พบว่าผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2566 ในมาตรฐานที่ ต.3.1 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของสถานศึกษากำหนด
คือ พูดหรือเขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองเพื่อน และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ประโยคและข้อความที่ใช้ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง
กิจวัตรประจำวัน เพื่อน สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล เรียกสิ่งต่างๆ
จำนวน 1-1000 ลำดับที่ วันเดือน ปี ฤดูกาล เวลา
กิจกรรมที่ทำ สี ขนาด รูปทรงที่อยู่ของสิ่งต่างๆ ทิศทางง่ายๆ สภาพดินฟ้าอากาศ อารมณ์
ความรู้สึก เครื่องหมายวรรคตอน (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรณ์มหาชน , 2562)
จากหลักการและเหตุผลข้างต้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจจะพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาภาษาอังกฤษ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง Knowing Your Feel โดยใช้รูปแบบการสอน
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active leaning) 4P1E
เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL) และ การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ
(Active Learning) ผ่านกระบวนการการเรียนการสอน ( ขั้นที่ 1 Problem ) โดยการกำหนดปัญหาในการเรียนของผู้เรียนการ
(ขั้นที่ 2 Presentation) ขั้นนำเสนอ (ขั้นที่ 3 Practice)
ขั้นฝึก (ขั้นที่ 4 Production)
ขั้นนำไปใช้ (ขั้นที่ 5 Evaluation ) ขั้นการประเมินผลรวม
ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนบ้านผาขาม จังหวัดขอนแก่น
และจากสถานการณ์ข้างต้นนั้น ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษา ผลิตสื่อนวัตกรรม
รวมกับการใช้สื่อการสอนออนไลน์ การใช้สื่อออนไลน์ wordwall เพื่อช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนโรงเรียนบ้านผาขาม จังหวัดขอนแก่น
เพื่อนำมาเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ในการ จัดการเรียนรู้ที่ช่วยการพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารภาษาอังกฤษ และทางผู้จัดนำองค์ความรู้
ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
12.1 ด้านความรู้ (Knowledge)
- กิจกรรม Happy Box game มีคะแนนเต็ม 12 คะแนน โดยสามารถแบ่งกลุ่มคะแนน
ของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ได้แก่
1) นักเรียนได้คะแนน 9 คะแนน หรือร้อยละ 75 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 25
2) นักเรียนได้คะแนน 10 คะแนน หรือร้อยละ 83.34 จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 50
3) นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนน หรือร้อยละ 100 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 25
ผลรวมค่าเฉลี่ยนักเรียน
จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 85.41
- ใบงานเรื่อง Exercise
1การเขียนคำศัพท์เรื่อง feeling ซึ่งมีคะแนนเต็ม
10 คะแนน โดยสามารถแบ่งกลุ่ม
คะแนนของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่
1) นักเรียนได้คะแนน 8 คะแนน หรือร้อยละ
80 จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75
2) นักเรียนได้คะแนน 9 คะแนน หรือร้อยละ 90 จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 50
3) นักเรียนได้คะแนน 10 คะแนน หรือร้อยละ
100 จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 20
ผลรวมค่าเฉลี่ยนักเรียน จำนวน 16 คน
คิดเป็นร้อยละ 91.87
- กิจกรรม Sentences Board มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน โดยสามารถแบ่งกลุ่มคะแนน
ของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ได้แก่
1) นักเรียนได้คะแนน 17 คะแนน หรือร้อยละ 85 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 25
2) นักเรียนได้คะแนน 18 คะแนน หรือร้อยละ 90 จำนวน 4 คน
คิดเป็นร้อยละ 25
3)
นักเรียนได้คะแนน 19 คะแนน หรือร้อยละ 95 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 25
4)
นักเรียนได้คะแนน 20 คะแนน หรือร้อยละ 100 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 25
ผลรวมค่าเฉลี่ยนักเรียน
จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 92.5
- ใบงานเรื่อง Exercise
2 เรื่อง การเขียนประโยคซึ่งมีคะแนนเต็ม 12 คะแนน โดยสามารถแบ่งกลุ่ม
คะแนนของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่
1) นักเรียนได้คะแนน 9 คะแนน หรือร้อยละ 75
จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5
2) นักเรียนได้คะแนน 10 คะแนน หรือร้อยละ 83.34 จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 56.25
3) นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนน หรือร้อยละ 100 จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25
ผลรวมค่าเฉลี่ยนักเรียน จำนวน 16 คน
คิดเป็นร้อยละ 88.02
12.2 ด้านทักษะ (Process)
- ใบกิจกรรมบทบาทสมมติ (Interactive Worksheet) ซึ่งมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน
โดยสามารถแบ่งกลุ่มคะแนนของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ได้แก่
1) นักเรียนได้คะแนน
8 คะแนน หรือร้อยละ 80
จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 50
2) นักเรียนได้คะแนน
9 คะแนน หรือร้อยละ 90 จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5
3) นักเรียนได้คะแนน 10 คะแนน
หรือร้อยละ 100 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5
ผลรวมค่าเฉลี่ยนักเรียน จำนวน 16 คน
คิดเป็นร้อยละ 88.75
2. นักเรียนสามารถพูดสนทนาเกี่ยวกับเกี่ยวกับการแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ โดยนักเรียนทั้งหมด
16 คน มีคะแนนเฉลี่ยจากกิจกรรมคิดเป็นร้อยละ 75 ขึ้นไป
และผ่านเกณฑ์การประเมิน
ที่ครูผู้สอนกำหนดทุกคน ซึ่งมีรายละเอียดคะแนนจากกิจกรรมดังนี้
- กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ
(Role - playing) ซึ่งมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน
โดยสามารถ
แบ่งกลุ่มคะแนนของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่
1) นักเรียนได้คะแนน 16 คะแนน หรือร้อยละ
80 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 25
2) นักเรียนได้คะแนน 18 คะแนน หรือร้อยละ
90 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5
3) นักเรียนได้คะแนน 20 คะแนน หรือร้อยละ
100 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5
ผลรวมค่าเฉลี่ยนักเรียน จำนวน 16 คน
คิดเป็นร้อยละ 87.5
- คลิปวิดีโอการแสดงบทบทบาทสมมติ
(Role - playing) ซึ่งมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน
โดยสามารถ
แบ่งกลุ่มคะแนนของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ได้แก่
1) นักเรียนได้คะแนน 18 คะแนน หรือร้อยละ 90 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 25
2) นักเรียนได้คะแนน 20 คะแนน หรือร้อยละ 100 จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 75
ผลรวมค่าเฉลี่ยนักเรียน
จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 97.5
12.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude)
1. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
คิดเป็นร้อยละ 100 โดยนักเรียนทั้งหมด
16 คน มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์คะแนน 8 คะแนนขึ้นไป
(ร้อยละ 80) หรือระดับดีเยี่ยมทุกคน
12.4 ปัญหา/อุปสรรค
1. ในขั้นตอนของการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมฝึกภาษา
ในบางกิจกรรมยังไม่สัมพันธ์กับเวลา
เนื่องด้วยอาจใช้เวลาในการทำกิจกรรมมากหรือน้อยเกินไป
ส่งผลให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้นั้นได้ยังไม่
เต็มที่
2. การออกแบบกิจกรรมการฝึกทักษะการพูดที่เน้นให้นักเรียนได้ฝึกพูดทุกคนในชั้นเรียนนั้น
มีข้อจำกัด
ด้านเวลาในการทำกิจกรรม ส่งผลให้ยังมีนักเรียนบางคนที่ไม่ได้ฝึกทักษะการพูดอย่างเต็มที่
12.5 ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไข
1. ครูผู้สอนควรปรับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมฝึกษาที่สัมพันธ์กับเวลา
อาทิการปรับลดขั้นตอน
ในการฝึกภาษาจากเกม ปรับลดจำนวนคำศัพท์หรือประโยคเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะทางภาษาอย่างเต็มที่
2. ครูผู้สอนสามารถแก้ปัญหาโดยให้นักเรียนกลุ่มดังกล่าวมาฝึกทักษะการพูดนอกเวลา
เช่น เวลา
พักกลางวัน หรือเวลาหลังเลิกเรียน นอกจากนี้ยังสามารถมอบหมายให้นักเรียนฝึกทักษะการพูดนอกเวลาเรียน
โดยการบันทึกวิดีโอการพูดแล้วนำส่งครูผู้สอนภายหลัง
วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2565
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง การซื้อของ going to shopping โดยใช้รูปแบบการสอน
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active leaning) 4P1E
ในสถานการณ์ความรู้ถดถอยในเด็ก (learning
loss)
แผนการจัดการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อสื่อการสื่อสารตามรูปแบบ Active leaning 4P1E
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ/วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาที่ 6
Unit
2: food and health Topic: going to shopping เวลา 4 ชั่วโมง
สอนวันที่.......เดือน....................................พ.ศ...................
ครูผู้สอน
นางสาววิลาวรรณ ชัยมา
![]() |
1. จุดประสงค์
จุดประสงค์ปลายทาง :
ใช้ภาษาเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับการซื้อของได้
จุดประสงค์นำทาง
1. บอกความหมายของคำศัพท์ได้ถูกต้อง เช่น rice, cake,
soup, potato chip, oil,
sugar, coffee ,apple juice, soda,
cookies, bread, eggs,
milk,
2.
พูดสนทนาเกี่ยวกับการซื้อของจากโครงสร้างประโยคที่เรียนมาได้
2.
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ต 1.1.1 เข้าใจภาษาท่าทาง
น้ำเสียง ความรู้สึกของผู้พูด รวมทั้งเข้าใจ คำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ
คำอธิบายที่พบในสื่อจริง
ต 1.1.2 อ่านออกเสียงบทอ่านได้ถูกต้องตามหลักการอ่านออกเสียงและเหมาะสมกับเนื้อหาที่อ่าน
ต 1.2.4 ใช้ภาษาเพื่อแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆในชีวิตประจำวัน ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยใช้ประโยชน์จากสื่อการเรียนทางภาษาและผลจากการฝึกทักษาต่างๆ
ต 4.1.1ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ
ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
3. เนื้อหา
คำศัพท์
เช่น rice, cake, potato chip, cooking oil, sugar,
coffee ,apple juice, soda, cookies,
bread, eggs, milk,
2.
พูดสนทนาจากโครงสร้างประโยคที่เรียนมาได้ เช่น
A: I would like a carton of milk.
B: Here you are.
A: How much are they?
B: They are (150 baht).
4.
สื่อการเรียนรู้
4.1 VDO YouTube https://www.youtube.com/watch?v=RpNkbmeHKZQ
![]() |
4.2 Power Point รูปภาพ,
คำศัพท์ และโครงสร้างไวยากรณ์

https://wordwall.net/th/resource/35355948
4.4 ใบงานแบบฝึกหัด
5.
กิจกรรมการเรียนการสอน
ครู |
นักเรียน |
ขั้น Presentation 1.
ครูเปิดเพลง Shopping
เกี่ยวกับการซื้อของ เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนผ่าน https://www.youtube.com/watch?v=RpNkbmeHKZQ 2.
ครูถามคำถามจากวีดีโอ เพื่อให้นักเรียนตอบ เช่น -Is
he buy vegetables? -
What else did you see? 4.
ครูเปิด Power point แล้วอธิบายคำศัพท์ให้นักเรียนฟัง 5. ครูสอนโครงสร้างไวบยากรณ์ ประโยค สนทนา เกี่ยวกับอาการป่วยโดยใช้ปฏิทินประโยค
A:
I would like a carton of milk. B: Here you are. A: How much are they? B: They are (150 baht) ขั้น Practice Activity
1 ( Exercise) 1.ครูให้นักเรียนเข้าลิงค์เล่นเกมเปิดกล่องตอบคำถามออนไลน์ เกี่ยวกับ going
to shopping
Activity
2 ( Exercise) 1.ครูแจกใบงาน เรื่อง going to shopping ขั้น Production 1.
ครูให้นักเรียนจับคู่ 2.
ครูแจกใบงานให้นักเรียนแต่ละคู่ 3. ครูให้นักเรียนแต่งบทสนทนาสั้นๆ
เกี่ยวกับอาการการซื้อของ เช่น A:
I would like a carton of milk. B:
Here you are. A:
How much are they?
B: They are (150 baht). 4. ครูให้นักเรียนพูดสนทนากันตามบทสนทนาที่ตนเองสร้างขึ้น โดยการบันทึกคลิปวีดีโอ ขั้น Evaluation 1.
ครูอธิบายกระบวนการประเมินผลงาน 2.
ครูให้นักเรียนช่วยกันตรวจสอบประเมินผล 3.
ครูตรวจสอบชิ้นงานและให้นักเรียนนำกลับไปแก้ไข |
1.นักเรียนนักเรียนดูวีดีโอและร้องตาม 2.
นักเรียนตอบคำถาม เช่น - Yes, he is - I saw a/an …………………… 3.
นักเรียนเรียนคำศัพท์ 4.นักเรียนฝึกพูดประโยค A:
I would like a carton of milk. B:
Here you are. A:
How much are they? B:
They are (150 baht). 1.
นักเรียนเล่นเกมเปิดกล่องตอบคำถามออนไลน์ เกี่ยวกับ going to
shopping 1.นักเรียนทำใบงาน 1.
นักเรียนจับคู่ 2.
นักเรียนแต่ละคู่รับ task1 จากครู 3. นักเรียนสร้างบทสนทนาสั้นๆอาการซื้อ ของ 4. นักเรียนสนทนากันโดยใช้บทสนทนาที่ตนเองสร้างขึ้นและบันทึกคลิปวีดีโอ 1นักเรียนฟังคำอธิบาย 2.นักเรียนช่วยกันตรวจสอบประเมินผล 3.นักเรียนแก้ไขชิ้นงาน |