วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

0506332 Curriculum and Instruction in English (20506332) หลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษ 2

Listening Skill (ทักษะการฟัง)

วีดีโอตัวอย่างการสอนทักษะฟัง



b>Listening Skill



เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
...... ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอน ควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)
...... การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening) และ การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา
...... ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ

1.เทคนิควิธีปฎิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผุ้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง มี 2ประการ คือ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ฯลฯ
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง ( While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น
การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรืออภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์ อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่อง อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ
การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฎอีกในสารที่จะได้รับฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง



2) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้นกิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด
มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้

ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของหรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง

ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ

ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น

ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้ฟัง
3) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้วเช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น


2. เอกสารอ้างอิง
2.1. กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษชุดที่ 3 Teaching4 Skills สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.
2.2. อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ช่วงชั้นที่ 1-2 (ป.1-ป.6) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.
2.3. บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี) การสอนทักษะการฟังโดยใช้สถานการณ์และกิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการฟังของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการฟังที่ดี จะนำไปสู่ทักษะการพูดที่ดีได้เช่นเดียวกัน

คำสำคัญ ( Keywords)

............ 1. ทักษะการฟัง
............ 2. การฟังโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening)
............ 3. การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening)
............ 4. สถานการณ์ในการฟัง
............ 5. กิจกรรมในการสอนฟัง
............ 6. กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening)
............ 7. กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening)
............ 8. กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening)

แผนการสอนทักษะการฟัง
Listening Skill Unit Environment Topic Water M.3.docx
Unit Environtment.ppt
Unit Environtment_2.ppt



Speaking Skill (ทักษะการพูด)

เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ

การเรียนรู้: เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ (Speaking Skill)
การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ จุดมุ่งหมายของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน

1. ชื่อเรื่อง เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
( Speaking Skill)
2. เกริ่นนำ
การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในเบื้องต้น มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) ในเรื่องของเสียง คำศัพท์ ( Vocabulary) ไวยากรณ์ (Grammar) กระสวนประโยค (Patterns) ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนระดับต้นได้ฝึกทักษะการพูด จึงเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้เรียนระดับสูง กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency) และจะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน
1. เทคนิควิธีปฎิบัติ
กิจกรรมการฝึกทักษะการพูด มี 3 รูปแบบ คือ
1.1 การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่กำหนดให้ในหลายลักษณะ เช่น
- พูดเปลี่ยนคำศัพท์ในประโยค (Multiple Substitution Drill)
- พูดตั้งคำถามจากสถานการณ์ในประโยคบอกเล่า (Transformation Drill)
- พูดถามตอบตามรูปแบบของประโยคที่กำหนดให้ (Yes/No Question-Answer Drill)
- พูดสร้างประโยคต่อเติมจากประโยคที่กำหนดให้ (Sentence Building)
- พูดคำศัพท์ สำนวนในประโยคที่ถูกลบไปทีละส่วน (Rub out and Remember)
- พูดเรียงประโยคจากบทสนทนา (Ordering dialogues)
- พูดทายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทสนทนา (Predicting dialogue)
- พูดต่อเติมส่วนที่หายไปจากประโยค ( Completing Sentences )
- พูดให้เพื่อนเขียนตามคำบอก (Split Dictation)
ฯลฯ
1.2 การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่เน้นความหมายมากขึ้น มีหลายลักษณะ เช่น
- พูดสร้างประโยคเปรียบเทียบโดยใช้รูปภาพ
- พูดสร้างประโยคจากภาพที่กำหนดให้
- พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในห้องเรียน
ฯลฯ
1.3 การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร (Communicative Drills) เป็นการฝึกเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำตอบตามจินตนาการ เช่น
- พูดประโยคตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ( Situation)
- พูดตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ( Imaginary Situation)
- พูดบรรยายภาพหรือสถานการณ์แล้วให้เพื่อนวาดภาพตามที่พูด ( Describe and Draw)
ฯลฯ


2. เอกสารอ้างอิง
1. กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ ชุดที่ 3 Teaching 4 Skills สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.
2. อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ช่วงชั้นที่ 1-2 (ป.1-ป.6) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.
3. บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)
การสอนทักษะการพูดโดยใช้กิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยสร้างเสริมคุณภาพทักษะการพูดของผู้เรียนให้พัฒนาขึ้น จากความถูกต้อง(Accuracy) ไปสู่ ความคล่องแคล่ว (Fluency) ได้ตามระดับการเรียนรู้ และ ศักยภาพของผู้เรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการฝึกทักษะการฟัง

คำสำคัญ ( Keywords)
1. ทักษะการพูด
2. ความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy)
3. ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency)
4. การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical Drills)
5. การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful Drills)
6. การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร (Communicative Drills)

แผนการสอนทักษะพูด

Unit Entertainment Topic Leisure.doc
Unit Entertainment Topic Leisure.ppt
Unit family.ppt
Unit Interpersonal Relationship Topic Telephone Conversation.doc
Unit Interpersonal Relationship Topic Telephone Conversation.ppt
Unit My self Topic Routine.doc
Unit My self Topic Routine.ppt
Unit Myself Topic Family.doc
Unit Myself Topic Personal Information.doc
Unit Myself Topic Personal Information.ppt
Unit Place Topic Tourist Attaction.ppt
Unit Weather Topic Season.doc
Unit Weather Topic SEason.ppt


ตัวอย่างวีดีโอการสอนทักษะการพูด



Reading Skill (ทักษะการอ่าน)





การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ(Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งทีอ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟังต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1. เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่างถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับโดยใช้เทคนิควิธีการดังนี้
(1) Basic Steps of Teaching (BST) มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง/นักเรียนฟัง
-ครูอ่านทีละประโยค/นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
-ครูอ่านทีละประโยค/นักเรียนอ่านตามทีละคน(อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
-นักเรียนอ่านคนละประโยคให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
-นักเรียนฝึกอ่านเอง
-สุ่มนักเรียนอ่าน
(2) Reading for Fluency ( Chain Reading)คือเทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไปเสมือนคนอ่านคนเดียวกันโดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่เช่นครูเรียกChain-number One นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย1,11,21,31,41, 51จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไปหากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใดถือว่าโซ่ขาดต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่หรือเปลี่ยนChain-numberใหม่
(3) Reading and Look upคือเทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคนอ่านข้อความโดยใช้วิธีอ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆอย่างรวดเร็วคล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4)Speed Readingคือเทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคนอ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษรแต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำเป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว(Fluency)และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(4) Reading for Accuracyคือการฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงทั้งstress / intonation/cluster/final soundsให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง(Pronunciation)โดยอาจนำเทคนิคSpeed Readingมาใช้ในการฝึกและเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการจะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง(Accuracy)และคล่องแคล่ว(Fluency)ควบคู่กันไป

1.2การอ่านในใจขั้นตอนการสอนทักษะการอ่านมีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟังโดยแบ่งเป็น3กิจกรรมคือกิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน(Pre-Reading)กิจกรรมระหว่างการอ่านหรือขณะที่สอนอ่าน(While-Reading)กิจกรรมหลังการอ่าน(Post-Reading)แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิคดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน(Pre-Reading)การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่านโดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบทก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้โดยทั่วไปมี2ขั้นตอนคือ
-ขั้นPersonalizationเป็นขั้นสนทนาโต้ตอบระหว่างครูกับผู้เรียนหรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนเพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
-ขั้นPredictingเป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่านโดยอาจใช้รูปภาพแผนภูมิหัวเรื่อง ฯลฯที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่านแล้วนำสนทนาหรืออภิปรายหรือหาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้นๆหรืออาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์เช่นขีดเส้นใต้หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านหรืออ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่านเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใดเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่านและค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆหรือทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่านโดยอาจใช้วิธีบอกความหมายหรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2) กิจกรรมระหว่างการอ่านหรือกิจกรรมขณะที่สอนอ่าน(While-Reading)เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้นกิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่านแต่เป็นการ“ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ”กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่นการฟังหรือการเขียนอาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อยเนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนากิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่านควรเป็นประเภทต่อไปนี้
-Matchingคืออ่านแล้วจับคู่คำศัพท์กับคำจำกัดความหรือจับคู่ประโยคเนื้อเรื่อง

กับภาพแผนภูมิ

-Orderingคืออ่านแล้วเรียงภาพแผนภูมิตามเนื้อเรื่องที่อ่านหรือเรียง

ประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่องหรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน(Paragraph)

-Completingคืออ่านแล้วเติมคำสำนวนประโยคข้อความลงในภาพแผนภูมิ

ตารางฯลฯตามเรื่องที่อ่าน

-Correctingคืออ่านแล้วแก้ไขคำสำนวนประโยคข้อความให้ถูกต้องตามเนื้อ

เรื่องที่ได้อ่าน

-Decidingคืออ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง(Multiple Choice)หรือเลือกประโยคถูกผิด(True/False) หรือเลือกว่ามีประโยคนั้นๆในเนื้อเรื่องหรือไม่หรือเลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง(Fact)หรือเป็นความคิดเห็น(Opinion)
-Supplying/Identifyingคืออ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง(Topic Sentence)หรือสรุปใจความสำคัญ( Conclusion)หรือจับใจความสำคัญ( Main Idea)หรือตั้งชื่อเรื่อง(Title)หรือย่อเรื่อง(Summary)หรือหาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง(Specific Information)
3)กิจกรรมหลังการอ่าน(Post-Reading)เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่านทั้งการฟังการพูดและการเขียนภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้วโดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์สำนวนไวยากรณ์จากเรื่องที่ได้อ่านเป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ความถูกต้องของคำศัพท์สำนวนโครงสร้างไวยากรณ์หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบสำหรับผู้เรียนระดับสูงอาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้นหรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านเป็นต้น


3.บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)
การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝนซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทักษะการอ่านที่ดีจะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน


คำสำคัญ(Keywords)
1.ทักษะการอ่าน
2.การอ่านออกเสียง
3.การอ่านในใจ
4.กิจกรรมในการสอนอ่าน
5.กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน(Pre-Reading)
6.กิจกรรมระหว่างการอ่านหรือกิจกรรมขณะที่สอนอ่าน(While-Reading)
7.กิจกรรมหลังการอ่าน(Post-Reading)
ที่มา:http://www.chan1.go.th/kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=382

แผนการสอนทักษะอ่าน

Personal Relationship.ppt
Personal Relationship_2.ppt
Reading Skill Unit Personal4 - revised.doc
Reading Skill Unit Personal4 - revised_2.doc
Unit Culture Topic Costom.pptx
Unit Health Topic How To Keep Fit.doc
Unit Health Topic How To Keep Fit_2.doc


ตัวอย่งวีดีโอทักษะการอ่าน




Writing Skill (ทักษะการเขียน)



เทคนิคการสอนทักษะเขียนภาษาอังกฤษ (Writing Skill)
การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียนจากความถูกต้องแบบควบคุมได้(Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ( Free Writing) ได้ในที่สุด ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

เทคนิคการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ( Writing Skill)
การฝึกทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ ( Vocabulary) กระสวนไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา (Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้ ซึ่งการสอนทักษะการเขียนในระดับนี้ อาจมิใช่การสอนเขียนเพื่อสื่อสารเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็นรากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงได้ต่อไป ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

1. เทคนิควิธีปฏิบัติ
การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ
1.1 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์ ข้อดีของการเขียนแบบควบคุมนี้ คือ การป้องกันมิให้ผู้เรียนเขียนผิดตั้งแต่เริ่มต้น กิจกรรมที่นำมาใช้ในการฝึกเขียน เช่น
Copying , เป็นการฝึกเขียนโดยการคัดลอกคำ ประโยค หรือ ข้อความที่กำหนดให้ ในขณะที่เขียนคัดลอก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้การสะกดคำ การประกอบคำเข้าเป็นรูปประโยค และอาจเป็นการฝึกอ่านในใจไปพร้อมกันGap Filing เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ มาเขียนเติมลงในช่องว่างของประโยค ผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้คำชนิดต่างๆ (Part of Speech) ทั้งด้านความหมาย และด้านไวยากรณ์
Re-ordering Words, เป็นการฝึกเขียนโดยเรียบเรียงคำที่กำหนดให้ เป็นประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำในประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเรียนรู้ความหมายของประโยคไปพร้อมกัน Changing forms of Certain words เป็นการฝึกเขียนโดยเปลี่ยนแปลงคำที่กำหนดให้ในประโยค ให้เป็นรูปพจน์ หรือรูปกาล ต่างๆ หรือ รูปประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ฯลฯ ผู้เรียนได้ฝึกการเปลี่ยนรูปแบบของคำได้อย่างสอดคล้องกับชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
Substitution Tables เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ในตาราง มาเขียนเป็นประโยคตามโครงสร้างที่กำหนด ผู้เรียนได้ฝึกการเลือกใช้คำที่หลากหลายในโครงสร้างประโยคเดียวกัน และได้ฝึกทำความเข้าใจในความหมายของคำ หรือประโยคด้วย

1.2 การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป กิจกรรมฝึกการเขียนแบบกึ่งอิสระ เช่น
Sentence Combining เป็นการฝึกเขียนโดยเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ด้วยคำขยาย หรือ คำเชื่อมประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรียบเรียงประโยคโดยใช้คำขยาย หรือคำเชื่อมประโยค ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
Describing People เป็นการฝึกการเขียนบรรยาย คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยใช้คำคุณศัพท์แสดงคุณลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้ ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำคุณศัพท์ขยายคำนามได้อย่างสอดคล้อง และตรงตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น
Questions and Answers Composition เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราว ภายหลังจากการฝึกถามตอบปาก เปล่าแล้ว โดยอาจให้จับคู่แล้วสลับกันถามตอบปากเปล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำหนดให้ แต่ละคนจดบันทึกคำตอบของตนเองไว้ หลังจากนั้น จึงให้เขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราว 1 ย่อหน้า ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยมีคำถามเป็นสื่อนำความคิด หรือเป็นสื่อในการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะได้มีข้อมูลเป็นรายข้อที่สามารถนำมาเรียบเรียงต่อเนื่องกันไปได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
Parallel Writing เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราวเทียบเคียงกับเรื่องที่อ่าน โดยเขียนจากข้อมูล หรือ ประเด็นสำคัญที่กำหนดให้ ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงกับความหมายและโครงสร้างประโยค ของเรื่องที่อ่าน เมื่อผู้เรียนได้อ่านเรื่องและศึกษารูปแบบการเขียนเรียบเรียงเรื่องนั้นแล้ว ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลหรือประเด็นที่กำหนดให้มาเขียนเลียนแบบ หรือ เทียบเคียงกับเรื่องที่อ่านได้
Dictation เป็นการฝึกเขียนตามคำบอก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วัดความรู้ ความสามารถของผู้เรียนในหลายๆด้าน เช่น การสะกดคำ ความเข้าใจด้านโครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ รวมถึงความหมายของคำ ประโยค หรือ ข้อความที่เขียน

1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค กระสวนไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

2. เอกสารอ้างอิง
1. กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ ชุดที่ 3 Teaching 4 Skills สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.
2. อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ช่วงชั้นที่ 1-2 (ป.1-ป.6) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.
3. บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)
การสอนทักษะการเขียน โดยใช้กิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการเขียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการเขียนที่ดี จะนำไปสู่การสื่อสารที่สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านสารได้อย่างมีประสิทธิภาพคำสำคัญ ( Keywords)
1. ทักษะการเขียน
2. การเขียนแบบควบคุม ( Controlled Writing)
3. การเขียนแบบกึ่งควบคุม ( Less Controlled Writng
4. การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing)

แผนการสอนทักษะการเขียน

Unit Myself Topic Personal Information.ppt
Unit Myself Topic Personality Traits.doc
Unit Myself Topic Personality Traits.ppt
Unit Myself Topic Personality Traits_2.doc
Unit Myself Topic Personality Traits_2.ppt


ตัวอย่างวีดีโอการสอนทักษะเขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น